วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ความหมายและความสำคัญของคอมพิวเตอร์


                ปัจจุบันเทคโนโลยีและการสื่อสารได้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์อุปกรณ์สื่อสารและคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาค้นคว้าและการทำธุรกิจ ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทำให้องค์กรต่างๆ นำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาช่วยในการดำเนินงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกิจและให้บริการบนอินเตอร์เน็ต ตลอดจนการใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการทำงาน
                ไม่เพียงแต่ในองค์กรต่างๆ เท่านั้นที่นำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน ผู้ใช้ตามบ้านโดยทั่วไป ก็ได้จัดหาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ส่วนตัวกันมากขึ้น เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีราคาถูก แต่มีประสิทธิภาพสูง รวมทั้งสามารถใช้งานได้ง่ายกว่าในอดีตมาก จนมีการประมาณการกันว่า ในอนาคตคอมพิวเตอร์จะเป็นอุปกรณ์พื้นฐานในทุกๆ ครัวเรือนเหมือนกับเครื่องรับโทรทัศน์
                ด้วยสถานการณ์ดังกล่าว การเรียนรู้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับเบื้องต้น จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในการทำงาน, การศึกษาหรือเพื่อความบันเทิง ให้มีประสิทธิภาพและความสะดวกเพิ่มมากขึ้น
                คอมพิวเตอร์มีข้อดีอย่างไร ? มนุษย์เราจึงได้นำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ได้ เราต้องทราบคุณสมบัติพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เสียก่อน ซึ่งมีอยู่ 5 ประการที่สำคัญดังนี้

                                1. ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic machine)
                                คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการบันทึกข้อมูล ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ การจัดเก็บข้อมูลที่บันทึกผ่านทางแป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถประมวลผลได้ และเมื่อคอมพิวเตอร์ประมวลผลเรียบร้อยแล้ว ข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าจะถูกแปลงกลับให้เป็นรูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้

                                2. การทำงานด้วยความเร็วสูง (speed)
                                เนื่องจากการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นการดำเนินงานต่างๆ จึงสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว (มากกว่าพันล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที)

                                3. ความถูกต้องแม่นยำเชื่อถือได้ (accuracy and reliability)
                                คอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่งที่มนุษย์เขียนโปรแกรมหรือคำสั่งไว้ ถ้าผู้ใช้ป้อนข้อมูลและชุดคำสั่งมีความถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก็จะมีความถูกต้องเชื่อถือได้

                                4. การเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก (storage)
                                คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่บันทึกเข้าไป ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดของคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้านตัวอักษร

                                5. การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล (communication)
                                คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ และสามารถทำงานที่หลากหลายมากขึ้นกว่าการใช้คอมพิวเตอร์แบบระบบเดี่ยว ตัวอย่างเช่น การนำคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อการสืบค้นข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น (remote computer)

                จากคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์เราจะเห็นได้ว่า คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายๆ อย่างที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ หรือถ้ามนุษย์ทำได้ ก็จะใช้เวลามากและมีข้อผิดพลาดมากมาย เช่น การคำนวณตัวเลขหลายหลักเป็นจำนวนมากภายในเวลาจำกัด, การทำงานในแบบเดียวกันซ้ำๆ หลายล้านครั้ง หรือการจดจำข้อมูลตัวเลขและตัวหนังสือหลายหมื่นหน้าโดยไม่มีการลืม งานที่น่าเบื่อและยุ่งยากเหล่านี้เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ทำงานแทนได้ โดยเรามีหน้าที่เพียงเป็นผู้สั่งการเท่านั้น


                นักวิชาการหลายท่านได้กำหนดหรือนิยามความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้หลายความหมาย แต่เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมแล้ว ความหมายของคอมพิวเตอร์จะหมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่งที่สามารถรับโปรแกรมและข้อมูล ประมวลผล สื่อสารเคลื่อนย้ายข้อมูลและแสดงผลลัพธ์ได้
                อย่างไรก็ตามการให้นิยามความหมายของคอมพิวเตอร์นั้น ไม่ใช่สาระสำคัญที่จะต้องจดจำหรือกำหนดไว้อย่างตายตัว ขอให้ทราบว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะต้องมีส่วนประกอบพื้นฐาน 4 อย่างดังต่อไปนี้
- มีวงจรนำเข้า (input) และวงจรส่งออก (output)
- มีหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) ที่ใช้ในการคำนวณทางคณิตศาสตร์และการดำเนินการทางตรรกะ
- มีหน่วยความจำที่ใช้ในการเก็บโปรแกรมและข้อมูล
- มีความสามารถในการประมวลผลชุดคำสั่ง
สิ่งใดก็ตามที่มีส่วนประกอบพื้นฐานดังต่อไปนี้ครบถ้วน ก็ถือว่าเป็นคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น ไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในรูปลักษณ์ที่เราคุ้นเคยและจดจำว่านั่นคือคอมพิวเตอร์

บทบาทของคอมพิวเตอร์

1. การใช้คอมพิวเตอร์ในวงธุรกิจทั่วไป
บริษัทธุรกิจทั่วไปมักใช้คอมพิวเตอร์ในงานหลายอย่าง ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็วในการทำงานสำหรับผู้ใช้ และลูกค้า เช่น งานระบบบัญชี
ได้แก่ การพิมพ์ใบสั่ง สินค้า พิมพ์ใบเสร็จรับเงิน สามารถพิมพ์ได้เร็วขึ้น และเป็นการกระตุ้นลูกค้าให้ส่งเงินชำระเร็วขึ้น
นอกจากนี้ยังนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารงานบุคคลได้แก่ คำนวณเงินเดือน และค่าแรงพนักงานบริษัท ซึ่งลดความซับซ้อนและยุ่งยากลงได้มาก

2. การใช้งานคอมพิวเตอร์ในวงการธนาคาร
ธนาคารพาณิชย์ทั่วไป ใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น ด้านการบริการลูกค้า โดยนำคอมพิวเตอร์เข้ามาในระบบการฝาก-ถอนเงิน โดยเฉพาะต่างสาขา โดย
ไม่ต้องเสียเวลารอคอย นอกจากนั้น ระบบบริการเงินอัตโนมัติ หรือ เอทีเอ็ม (Automatic Teller Machine : ATM.) มาใช้เป็นระบบ On-line
Banking ช่วยทำให้ลูกค้าสามารถฝาก-ถอนเงินสดได้อย่างรวดเร็ว เพียงแต่ลูกค้าจะต้องมีบัตรพิเศษ ซึ่งจะมีแถบแม่เหล็ก (Magnetic Stripe) ติดอยู่
ข้างหลังบัตรนั้น ซึ่งแถบแม่เหล็กนี้ จะเป็นตัวเก็บข้อมูลของผู้ถือบัตร หรือของลูกค้าไว้ บัตรนี้เรียกว่า "บัตรเครดิต" (Credit Card) ผู้ถือบัตรจะต้องมีรหัส
ของตนเอง ทำให้สะดวกในการซื้อขายสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ต

บทบาทของคอมพิวเตอร์ บทบาทของคอมพิวเตอร์ บทบาทของคอมพิวเตอร์   
"บัตรเครดิต" (Credit Card) ตู้และบัตรเอทีเอ็ม (Automatic Teller Machine : ATM.)
3. การใช้คอมพิวเตอร์กับธุรกิจโรงแรม คอมพิวเตอร์ช่วยในการบริหารธุรกิจการโรงแรม โดยการติดตั้งเครื่องพ่วง หรือ เทอร์มินอล (Terminal) สำหรับการรับ-ส่งข้อมูลไว้ยังจุดต่างๆ
ของโรงแรม เช่น แผนกต้อนรับ , บาร์ , ภัตตาคาร ในโรงแรม , แผนกบริการจองห้องพักออนไลน์ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
บทบาทของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์กับระบบบริหารงานโรงแรม

4. การใช้คอมพิวเตอร์ในวงการแพทย์
ในกิจการแพทย์ ได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานทะเบียนประวัติผู้ป่วย , การนัดผู้ป่วยเพื่อมาตรวจ , การสั่งยา หรือ ระบบการเงิน การบัญชี ทั้งหมด
นี้จะถูกวางไว้ในระบบเครือข่าย เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ให้ถึงกันตามจุดหรือห้องต่างๆ
นอกจากนั้น ยังใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการตรวจรักษาผู้ป่วย ในรูปแบบของหุ่นยนต์ (Robot) มาช่วยในการผ่าตัดสมอง ซึ่งหุ่นยนต์ สามารถ
คำนวณ และการเคลื่อนไหวของการผ่าตัดสมอง หรือ กะโหลกศีรษะ , การนำหุ่นยนต์มาช่วยในการทำศัลยกรรม ให้มีความปลอดภัยและสะดวกรวดเร็วขึ้นการใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจสุขภาพร่างกาย เป็นต้น
บทบาทของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ในกิจการแพทย์

5. คอมพิวเตอร์กับการศึกษา

ในด้านการศึกษา แบ่งการใช้คอมพิวเตอร์ได้ 2 ด้าน ดังนี้
1. ด้านงานบริหารสถานศึกษา
2. ด้านการเรียนการสอน

1. ด้านงานบริหารสถานศึกษา : ใช้คอมพิวเตอร์ในงานข้อมูลสารสนเทศฝ่าย , งานวัดผลการศึกษา , งานการเงิน-บัญชี , งานพัสดุ ฯลฯ
ทั้งหมดนี้ เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหาร และการจัดการข้อมูลต่างๆ ของโรงเรียน ทำให้สะดวก รวดเร็วและประสิทธิภาพของงานสูงขึ้น

2. ด้านการเรียนการสอน : ได้แก่ การจัดทำสื่อการสอน , การจัดการเรียนการสอนนักเรียน และรูปแบบ วิธีการสอน โดยการนำ คอมพิวเตอร์
มาช่วย เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI. (Computer Assisted Instruction) หรือ การสอนแบบออนไลน์ ผ่านเวบไซท์ต่างๆ


การเรียนการสอนแบบออนไลน์ผ่านเวบไซท์

3. คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรมการผลิต : ใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์และออกแบบด้านสถาปัตยกรรม หรือ โครงสร้าง ที่เรียกว่า
CAD. ( Computer Aided Design) และ นำมาใช้ในงานผลิตเครื่องจักรกลต่างๆ หรือ สินค้า - ผลิตภัณฑ์ต่างๆ (CAM. (Computer AidedManufacturing)

 บทบาทของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์กับการออกแบบเครื่องบินในงานประเภท CAD. ( Computer Aided Design)

 บทบาทของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ในอุตสาหกรรมการผลิต(CAM. (Computer Aided Manufacturing)

4. คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจสายการบิน : สายการบินทั่วโลกนำคอมพิวเตอร์มาใช้ ในการจัดการให้กับลูกค้าหรือผู้โดยสาร เช่น การสำรองที่นั่งตารางเที่ยวบิน นอกจากนี้ยังใช้ในการควบคุมการบินของเครื่องบิน และ ใช้ควบคุมในหอบังคับการบิน
บทบาทของคอมพิวเตอร์

5. คอมพิวเตอร์ในงานด้านการบันเทิง : ได้แก่ งานภาพยนต์ , งานด้านดนตรี , งานด้านศิลปะและการออกแบบ , การเต้นรำ เป็นต้น

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
เราได้ประโยชน์อะไรจากการเรียนคอมพิวเตอร์


1. ทันสมัย / ทันเหตุการณ์ / ทันข้อมูลข่าวสาร / ทันโลก ช่วยให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก
2. ช่วยให้การเรียน การทำงาน ทันสมัยและไรับความสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น ได้เรียนรู้จากสื่อที่ทันสมัยที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์
    ที่เรียกว่า โปรแกรม CAI

3. เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ดีเยี่ยม ช่วยในการค้นคว้าหาความรู้เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
4. ช่วยรับ - ส่งข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว
5. ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น เกม ดูภาพยนตร์ ฟังเพลง ร้องเพลง
6. ช่วยสร้างงานศิลปะ ออกแบบชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์ สวยงาม
 ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ประโยชน์ทางตรง
        ช่วยให้มนุษย์ทำงานได้โดยตรงคือคอมพิวเตอร์ทำงานได้เที่ยงตรง รวดเร็ว ไม่เหน็ดเหนื่อย ช่วยผ่อนแรงมนุษย์ ในด้านต่าง ๆ
เช่น ด้านการคำนวณ พิมพ์งาน บันทึกข้อมูล ประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานในแวดวงใน หากนำคอมพิวเตอร์เข้าช่วยงาน
จะช่วยแบ่งเบาภาระงานได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ

book_04.jpg
2. ประโยชน์ทางอ้อม
        คอมพิวเตอร์ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น ช่วยในการเรียนรู้ให้ความปันเทิงความรู้ ช่วยงานบันเทิงพัฒนางานด้านต่าง ๆ
เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีอันส่งผลให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น เป็นต้น

จากการที่คอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่นหลายประการ ทำให้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมเป็นอย่างมาก  ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ เช่น พิมพ์จดหมาย รายงาน เอกสารต่างๆ ซึ่งเรียกว่างานประมวลผล ( word processing ) นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ อีกหลายด้าน ดังต่อไปนี้
  1. งานธุรกิจ เช่น บริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบโทรคมนาคม นอกจากนี้งานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการควบคุมการผลิต และการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้นบริษัทยังสามารถรับ หรืองานธนาคาร ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ ( ATM ) และใช้คอมพิวเตอร์คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชี เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย
  2. งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของการส่งจรวดไปสู่อวกาศ  หรืองานทะเบียน การเงิน สถิติ และเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้ ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น
  3. งานคมนาคมและสื่อสาร ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจองวันเวลา ที่นั่ง ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้ ทำให้สะดวกต่อผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร และ การจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็ใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียมเพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อการส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน
  4. งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือ จำลองสภาวการณ์ ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยคอมพิวเตอร์จะคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน
  5. งานราชการ เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ , กรมสรรพากร ใช้จัดในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี เป็นต้น
  6. การศึกษา ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน CAI หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด

วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554